ความรู้รอบตัวเกี่ยวกับ ทะเล

ข้อเท็จจริงที่ควรรู้เกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทร
Fifty key Facts About Seas and Oceans

๑.  มหาสมุทรปกคลุมพื้นที่ถึง ๗๐% ของผิวโลก
๒.  มากกว่า ๙๐% ของสิ่งมีชีวิตบนโลก (เทียบด้วยมวลชีวภาพ) อยู่ในทะเล
๓.  ๘๐% ของมลภาวะทางทะเลมาจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนผืนดิน
๔.  ๔๐% ของประชากรโลก อาศัยอยู่ในระยะ ๖๐ กิโลเมตร จากฝั่งทะเล
๕.  ๓ ใน ๔ ของเมืองใหญ่ๆ ในโลก อยู่ติดทะเล
๖.  ภายใน พ.ศ.๒๕๕๓   ๘๐% ของประชากรโลกจะอาศัยอยู่ในระยะ ๑๐๐ กิโลเมตร จากชายฝั่งทะเล
๗.  การตายและโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากน้ำทะเลเป็นพิษ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายถึง ๑๒.๘ พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี และเป็นโรคตับอักเสบที่เกิดจากอาหารทะเลปนเปื้อนสารพิษปีละ ๗.๒ พันล้านเหรียญสหรัฐต่อปี

๘.  ของเสียที่เป็นพลาสติกได้คร่าชีวิตนกทะเลกว่า ๑ ล้านตัว สัตว์ทะเลที่เลี้ยงลูกด้วยนมกว่า ๑ แสนตัวและปลาทะเลอีกนับไม่ถ้วน
๙.  สิ่งมีชีวิตในทะเลตายไปไม่ใช่เป็นเพราะตัวพลาสติกเอง แต่เป็นเพราะการย่อยสลายของพลาสติก พลาสติกที่ย่อยสลายไปแล้วนั้นจะยังอยู่ในระบบนิเวศและยังคงส่งผลร้ายต่อไป
๑๐.  ปรากฏการณ์การเจริญเติบโตของสาหร่ายและแพลงก์ตอนพืชอย่างรวดเร็ว   (Agal Blooming)¹ เกิดจากสารอาหารในน้ำที่มีมากเกินไปโดยเฉพาะไนโตรเจนที่มาจากปุ๋ยที่ใช้ในการเกษตร ทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลขาดออกซิเจนเกือบ ๑๕๐ แห่งทั่วโลก โดยพื้นที่ของปรากฏการณ์การน้ำขาดออกซิเจนมีตั้งแต่ ๑ – ๗๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
๑๑. ในแต่ละปี น้ำมันประมาณ ๒๑ ล้านบาเรล ไหลลงสู่มหาสมุทร ซึ่งมาจากการชะล้างถนน โรงงาน และเรือเดินสมุทร
๑๒. ในทศวรรษที่ผ่านมา (ปี พ.ศ.๒๕๔๓ – ๒๕๕๓) น้ำมันประมาณ ๖ แสนบาเรล รั่วลงทะเลจากอุบัติเหตุเรือและในปริมาณที่เท่ากันอีก ๑๒ ครั้ง เกิดจากการจมของถังน้ำมันเรือ Prestige ในปี พ.ศ. ๒๕๔๕ เพียงปีเดียว
๑๓. น้ำมันที่ขนส่งบนเรือ กว่า ๖๐% เป็นน้ำมันที่ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค
๑๔. มากกว่า ๙๐% ของสินค้าบนโลก ขนส่งโดยทางเรือ
๑๕. แต่ละปี น้ำที่ปล่อยออกมาจากการเดินเรือเพื่อใช้รักษาสมดุล การทรงตัวของเรือ (Ballast Water) ได้ทิ้งออกไปและหมุนเวียนไปทั่วโลกกว่า ๑ พันล้านตัน
๑๖. น้ำที่ใช้ในการเดินเรือ (Ballast Water) ทำให้เกิดปัญหาการแพร่กระจายของสัตว์พลัดถิ่น (Exotic Species) เช่น แมงกะพรุน และหอยม้าลาย ²
๑๗. มลภาวะและสัตว์นำเข้าหรือสัตว์หลงพลัดถิ่น (Exotic Species) กำลังเป็นปัญหาที่ใหญ่ขึ้นทุกวันในป่า ชายเลน หญ้าทะเลและปะการัง
๑๘. ปะการังเขตร้อนรอบชายฝั่งของ ๑๐๙ ประเทศ (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปะการังที่อายุน้อย) เกิดจากการ เสื่อมโทรมกว่า ๙๓ ประเทศ
๑๙. ถึงแม้ว่าปะการังจะกินพื้นที่ไม่ถึง ๐.๕% ของพื้นที่มหาสมุทร แต่สิ่งมีชีวิตมากกว่า ๙๐% ดำรงชีวิต โดยอาศัยปะการังไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
๒๐. ปลาที่อาศัยปะการังกว่า ๔,๐๐๐ ชนิด มีจำนวนถึง ๑ ใน ๔ ของจำนวนชนิดของปลาทะเลทั้งหมด

๒๑. เกรท แบรี่เออ รีฟ (Great Barrier Reef) เป็นแนวปะการังที่ยาวกว่า ๒,๐๐๐ กิโลเมตร และมีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งสามารถมองเห็นได้จากดวงจันทร์

Great Barrier Reef เป็นพืดหินปะการังที่ยาวที่สุดในโลก ยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย หรือตอนใต้ของทะเลคอรัล เริ่มตั้งแต่แหลมยอร์ก (Cape York) ซึ่งอยู่ไกลขึ้นไปทางเหนือของรัฐควีนส์แลนด์ ลงมาถึงบันดะเบอร์ก (Bundaberk) ทางตอนใต้ ครอบคลุมดูแลพื้นที่ 215,000 ตารางไมล์ หรือ 345,000 ตารางกิโลเมตร ของน่านน้ำรอบ ๆ แนวปะการัง และแนวปะการังใหญ่แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ แนวปะการังเหนือ (Northern Reef) หมู่เกาะวิตซันเดย์ (Whitsunday Island) และแนวปะการังใต้ (Southern Reef)

๒๒.  ปะการังช่วยปกป้องมนุษย์จากคลื่นและพายุและเป็นตัวปรับสมดุลระหว่างสังคมชีวิตในทะเลและรอบชายฝั่ง
๒๓.  เกือบ ๖๐% ของปะการังในโลก จะสูญพันธุ์ไปในอีก ๓๐ ปีข้างหน้า
๒๔.  สาเหตุของการลดลงของปะการังมาจากการพัฒนาชายหาด, การทับถมของตะกอน, การจับปลาอย่างไม่ถูกวิธี, มลภาวะ, การท่องเที่ยวและสภาวะโลกร้อน
๒๕.  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ทำให้ปะการังทั่วโลกตายลงเป็นจำนวนมากและเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะกับเกาะเล็กๆ ที่กำลังพัฒนา
๒๖.  ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ๑๐ ถึง ๑๕ ซม. ในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา และถ้าน้ำแข็งทั่วโลกละลายลง ระดับน้ำทะเลจะเพิ่มขึ้นถึง ๖๖ เมตร
๒๗.  ใน ๑ ปี  ๖๐%  ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกและ ๓๕% ของพื้นที่ชายฝั่งทะเลมหาสมุทรแอตแลนติกลดลง
๒๘. ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวมี ๗๕% ในปี พ.ศ.๒๕๔๑ และ ๑๖% ของปะการังเหล่านี้ตาย
๒๙.  ข้อมูลต่างๆ ของทะเลทั่วโลกต้องพร้อมภายในปี พ.ศ.๒๕๔๗ และการทำงานอย่างเป็นระบบของเครือข่ายระดับโลกของเขตอนุรักษ์น่านน้ำสากลภายในปี พ.ศ.๒๕๕๕
๓๐.  พื้นที่ของมหาสมุทรทั่วโลกน้อยกว่า ๐.๕% ได้รับการคุ้มครอง ในขณะที่แผ่นดิน ๑๑.๕% ทั่วโลกได้รับการคุ้มครอง
๓๑.  เขตน่านน้ำสากลมากกว่า ๕๐% บนโลก เป็นส่วนที่ได้รับการปกป้องดูแลน้อยที่สุด
๓๒.  ถึงแม้จะมีการปกป้องสัตว์ทะเล เช่น สัตว์ที่สามารถเดินทางย้ายถิ่นฐานได้ทั่วโลก (Ocean-Going) เช่น วาฬ แต่ในเขตน่านน้ำสากลกลับไม่มีการปกป้องคุ้มครองใด
๓๓.  การศึกษาวิจัยเพื่อการอนุรักษ์ที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล เช่น ปะการัง, หญ้าทะเลและป่าชายเลน จะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับชาวประมงพื้นบ้านเพื่อการค้าส่งออก
๓๔.  จำนวนครึ่งหนึ่งของปลาที่จับทั่วโลกมาจากชาวประมงพื้นบ้าน ๙๐% ที่จับปลาเพื่อการดำรงชีวิต
๓๕.  กว่า ๙๔% ของปลาที่จับเป็นอาหาร หรือ ๘๐ ล้านตัน มาจากบริเวณรอบชายฝั่งทะเล
๓๖.  ประชากรมากกว่า ๓,๕๐๐๐ ล้านคน รับประทานอาหารจากทะเล และจะเพิ่มขึ้นกว่า ๗,๐๐๐ ล้านคน ในอีก ๒๐ ปีข้างหน้า
๓๗.  กลุ่มชาวประมงพื้นบ้านกำลังถูกคุกคามจากการทำประมงสมัยใหม่ที่ผิดกฎหมายและขาดการควบคุม
๓๘.  มากกว่า ๗๐% ของการทำประมงในโลก จับปลาเกินจำนวน ซึ่งในอนาคตอาจมีไม่เพียงพอกับความต้องการของจำนวนประชากรโลก
๓๙.  จำนวนปลาใหญ่ที่ล่าเพื่อการค้าทั้งหลาย เช่น ทูน่า, คอด, ปลาดาบ, มาร์ลิน จะลดลงมากกว่า ๙๐% ในทศวรรษหน้า
๔๐.  การประชุมระดับโลกได้มีข้อตกลงให้ภายในปี พ.ศ.๒๕๕๘ ต้องทำให้จำนวนปลามีมากเพียงพอที่จะรองรับกับจำนวนประชากรมนุษย์เป็นภารกิจเร่งด่วน
๔๑.  ภารกิจที่ต้องทำให้สำเร็จอีกอย่างหนึ่งคือ หยุดการประมงที่ขาดการควบคุม, ผิดกฎหมายและใช้เครื่องมือไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม
๔๒.  รัฐบาลมักทุ่มงบประมาณรวมกันทั่วโลกกว่า ๑๕-๒๐ พันล้านเหรียญสหรัฐ ในการประมง ทำให้ทรัพยากรทางทะเลร่อยหรอลงเรื่อยๆ
๔๓.  การจับปลาอย่างไม่ถูกวิธี ได้ทำลายสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในทะเลมากมาย รวมทั้งทำลายที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล
๔๔.  ในแต่ละปี การจับปลาอย่างผิดกฎหมายรวมถึงเครื่องมือประมงที่เป็นอันตราย ซึ่งทำให้นกตายกว่า ๔๐๐,๐๐๐ ตัว ครอบคลุมพื้นที่กว่า ๘๐ ไมล์
๔๕.  ปลาฉลามกว่า ๑๐๐ ล้านตัว ถูกล่าเพื่อนำเนื้อมาเป็นอาหาร โดยเฉพาะการนำมาทำหูฉลาม ซึ่งนักล่าฉลามเพียงแค่ตัดครีบอย่างเดียวและโยนตัวลงทะเล ซึ่งปลาจะเสียเลือดจนตายไปในที่สุด
๔๖.  สถิติการจับปลาทั่วโลก โดยการใช้เครื่องมือแบบไม่เลือกทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ มีจำนวนกว่า ๒๐ ล้านตันต่อปี
๔๗. ในแต่ละปีมีวาฬ และโลมา ตายมากกว่าอย่างละ ๓ แสนตัว
๔๘.  การจับกุ้งทะเลคิดเป็น ๒% ของอาหารทะเลทั่งโลกแต่เป็น ๑ ใน ๓ ของการจับทั้งหมด
๔๙. การทำนากุ้งเป็นสาเหตุให้น้ำมีมลภาวะเป็นพิษ และเป็นผลร้ายต่อป่าชายเลนทั่วโลกถึง ๑ ใน ๔
๕๐.  ป่าชายเลนเป็นแหล่งพึ่งพิงของปลาเศรษฐกิจในเขตร้อนกว่า ๘๕%

ป่าชายเลน หรือ ป่าโกงกาง (Mangrove forest หรือ Intertidal forest) คือเป็นกลุ่มสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุดและน้ำขึ้นสูงสุด บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำหรืออ่าว อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง สังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มี ใบเขียวตลอดปี (evergreen species) ซึ่งมีลักษณะทางสรีรวิทยาและความต้องการสิ่งแวดล้อมที่คล้ายกัน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้สกุลโกงกาง (Rhizophora spp.) เป็นไม้สำคัญและมีไม้ตระกูลอื่นบ้าง
ข้อมูลเพิ่มเติม
1.  ภาวะน้ำทะเลขาดออกซิเจน [อ่าน]
2.  ซึ่งสัตว์เหล่านี้มีความสามารถในการแพร่พันธุ์เร็วและสร้างปัญหาให้กับสัตว์ท้องถิ่นเดิมนั้น

 

ปิดการแสดงความเห็น