ตำรับยาแก้โรคกษัย ไตพิการ (บันทึกของแผ่นดิน ๑๑)

ตำรับยาแก้โรคกษัย ไตพิการ


…..สมัยก่อนคนไทยทุกภาคจะมีตำรับยาแก้โรคกษัยไตพิการอยู่คู่บ้าน ตำรับยากษัย ยาไต รวมถึงยาที่เกี่ยวข้อง มีอยู่มากมาย บางครั้งอยู่ในรูปของนิทาน หลายตำรับมีการแต่งไว้เป็นคำกลอน ในใบลานอีสานดั้งเดิมนั้นจะมีโรค ‘ฮาน’ ซึ่งมีอาการเช่นเดียวกับกษัยของชาวบ้าน ..อ่านต่อ

ดูแลทางเดินปัสสาวะ ลดภาระให้ไต (บันทึกของแผ่นดิน ๑๑)

ดูแลทางเดินปัสสาวะ ลดภาระให้ไต


ระบบทางเดินปัสสาวะ จุดอ่อนติดเชื้อ
…..ระบบทางเดินปัสสาวะมีโอกาสจะติดเชื้อได้ง่าย สาเหตุมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ เมื่อคนเราเคลื่อนไหวร่างกายแบคทีเรียบางส่วนที่อยู่รอบๆ ทวารหนักมีโอกาสจะเล็ดลอดเข้าไปที่ท่อปัสสาวะ บางครั้งก็เกิดการเช็ดทำความสะอาดโดยไม่ระมัดระวังโดยเฉพาะในผู้หญิง วิธีที่ถูกต้องคือต้องไม่เช็ดจากทางทวารหนักมาด้านหน้า และการร่วมเพศก็อาจทำให้เชื้อดังกล่าวเข้าไปที่กระเพาะปัสสาวะได้เช่นกัน ..อ่านต่อ

โกฐน้ำเต้า ยาไตสัญชาติจีน

โกฐน้ำเต้า ยาไตสัญชาติจีน ………..โดย ‘พี่ต้อม’

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Rheum palmatum L.
ชื่อวงศ์ : POLYGONACEAE
ชื่อื่น : โกฐน้ำเต้า ตั้วอึ้ง ต้าหวาง เยี่ยต้าหวาง จี๋จ่าวต้าหวาง Turkish rhubarb
ลักษณะทั่วไป : ไม้ล้มลุกขนาดใหญ่ สูง ๑๕-๒ เมตร เหง้าและรากอ้วนสั้น ลำต้นกลวง เป็นร่องตามยาว ใบขนาดใหญ่คล้ายองุ่น เรียงสลับ ขอบจักเว้าลึก ดอกช่อแบบแยกแขนง ขนาดใหญ่ มีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ดอกย่อยขนาดเล็ก สีแดงแกมม่วง พบน้อยมากที่เป็นสีขาวแกมเหลือง ผลสดรูปทรงรีแกมขอบขนาน มีปีกขนาดเล็ก เมล็ดทรงรูปไข่กว้าง สีน้ำตาลเข้ม
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ..อ่านต่อ

กุ่มบก พี่น้องยากุ่มน้ำ

กุ่มบก พี่น้องยากุ่มน้ำ………..โดย ‘พี่ต้อม’

ชื่อวิยาศสตร์ : Crateva adansonii DC. Subsp. Trifoliate (Roxb.) Jacob
ชื่อวงศ์ : CAPPARACEAE
ชื่ออื่ : ก่าม ผักกุ่ม ทะงัน
ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มยืนต้น สูง ๓-๕ เมตร มีใบประกอบแบบนิ้วมือ มีใบย่อยรูปไข่ ๓ ใบ ดอกเป็นช่อกระจุก กลีบดอกสีขาว เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง ผลมีลักษณะกลม เมื่อสุกจะเป็นสีน้ำตาลแดง
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด ..อ่านต่อ

น้ำ…ธาตุสำคัญ คอยหมั่นเติม

น้ำ…ธาตุสำคัญ คอยหมั่นเติม
   ..คนเราถ้าขาดอาหารยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้ประมาณเดือนครึ่ง แต่ขาดน้ำได้ไม่เกินหนึ่งอาทิตย์ ร่างกายมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่เฉลี่ยร้อยละ ๖๐ ยิ่งมีอายุสูงขึ้นปริมาณน้ำจะลดลง คืออยู่ระหว่างร้อยละ ๕๕ – ๕๗ น้ำทำหน้าที่ช่วยให้ทุกกลไกของร่างกายสามารถทำงานได้ โดยนำเม็ดเลือด สารอาหาร ฮอร์โมนไปสู่เซลล์ต่างๆ นำของเสียออกไปทิ้ง ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย หล่อลื่นเยื่อบุต่างๆ ..อ่านต่อ