ช้างน้าว จ้าวยาของเด็กน้อย

ช้างน้าว จ้าวยาของเด็กน้อย…โดย ‘พี่ต้อม’

ชื่อวิทยาศาสตร์
Ochna integerrrima
(Lour.) Merr.
ชื่อวงศ์  OCHNACEAE
ชื่ออื่นๆ  ตาลเหลือง แง่น ช้างน้าว ช้างโหม ช้างโร้ม ขมิ้นพระตัน กำลังช้างสาร หญ้าวัวแลก แคะลอย
ลักษณะทั่วไป  ไม้ยืนต้น ขนาดเล็ก สูงได้ถึง ๑๐ เมตร เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอ่อน มีรอยแตกลึก ใบเดี่ยว เรียงแบบเวียนรอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ดอกออกเป็นช่อกระจุกตามปลายกิ่ง กลีบดอกสีเหลือง
การขยายพันธุ์ ใช้เมล็ด
ช้างน้าว เสริมกำลังผู้ใหญ่ แก้ไขเด็กผอม 
         ช้างน้าวเป็นสมุนไพรต้นหนึ่งที่พ่อหมอยาภาคอีสาน ภาคกลาง ภาคเหนือ ใช้เป็นยากำลัง  ใช้ได้ทั้งเดี่ยวๆ หรือเข้ายากำลังตัวอื่นๆ พ่อหมอมูเซอเรียกว่า แคะลอย ซึ่งเป็นชื่อชาวปกาเกอะญอที่นำสมุนไพรชนิดนี้มาให้คนมูเซอใช้เป็นยาบำรุงกำลัง โดยใช้รากตากแห้งดองเหล้าหรือต้มกิน เหมือนกับพ่อหมอไทยใหญ่ซึ่งเรียกสมุนไพรชนิดนี้ว่า หญ้าวัวแลก 
          หมอยาไทยใหญ่ใช้ช้างน้าวรักษาเด็กเป็นซางจ่อยผอม นั่นหมายถึงสภาวะที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่ดี หรือเป็นโรคเรื้อรัง มีการติดเชื้อบางชนิดที่ร่างกายไม่สามารถกำจัดออกไปได้ หมอยาภาคกลางก็ใช้รากช้างน้าวในการแก้น้ำเหลืองเสีย หรือสภาวะภูมิคุ้มกันไม่ดีนั่นเอง
หญ้าวัวแลก ฟื้นคืนพลังชีวิตเด็กน้อย
          มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับหญ้าวัวแลกว่า ครอบครัวหนึ่งมีลูกจ่อยผอม เด็กคนนี้กินเท่าไหร่ก็ไม่โต ทำท่าจะเลี้ยงไม่รอด แม่ไปดูหมอดูกับนายราหู(หมอดู) นายราหูถามว่ารักษาได้จะให้อะไร  แม่บอกว่าจะให้วัวหนึ่งตัว นายราหูจึงให้ช้าวน้าวทั้งห้า ไปแช่น้ำอาบให้เด็ก ก่อนอาบให้กินสามวัก พอทำเช่นนี้เด็กก็แข็งแรงเติบโต แม่ก็ยกวัวให้กับนายราหูตามสัญญา จึงกลายเป็นชื่อเรียกของสมุนไพรต้นนี้

ช้างน้าวกับการศึกษาวิจัยสมัยใหม่

          พบว่ามีสาร bioflavonoid  ซึ่งต้านเชื้อ HIV ต้านเชื้อวัณโรค มีฤทธิ์ต้านอักเสบ แก้ปวด แก้ไข้ อาจเป็นฤทธิ์ที่สำคัญในการฟื้นพลังชีวิตให้เด็กน้อยคนนั้นก็ได้
ตำรับยา
ยาบำรุง
ตำรับที่  ๑  ต้นต้มกินบำรุงกำลัง แก้กษัย แก้ปวดเมื่อย
ตำรับที่   ต้นช้างน้าว ต้นนมสาว รากลกคก รากน้ำเต้าแล้ง เถาตาไก้ อย่างละเท่ากัน ต้มกินเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงน้ำนม

ปิดการแสดงความเห็น