ก็แล้วแต่ .. แก่งยาว

“ก็แล้วแต่ … แก่งยาว”  ๒๕ – ๒๘ เมษ์ ๕๗

nim story -  (11)แม้จะผ่านไปเพียงแต่หนึ่งปี แต่ก็มากพอที่ทำให้คิดถึง อยากเดินทางกลับไปสู่ธารน้ำแห่งความทรงจำนี้อีกครั้ง ถึงปัจจุบันระยะทางจากบ้านไปเริ่มต้นที่ปากช่องจะไกลขึ้น ก็ไม่ใช่อุปสรรคใดๆ ค่ำวันที่ ๒๓ เมษ์ เริ่มต้นออกเดินทางพร้อมกระเป๋าเป้คู่ใจใบใหญ่ พร้อมๆ กับสายฝนโปรยปรายให้ชุ่มฉ่ำหัวใจ….

nimแก่งยาว ยังคงเป็นดินแดนแห่งความฝันของหลายๆ คนที่ต่างตั้งความหวังว่าจะต้องมาเยี่ยมเยือนธารน้ำแห่งนี้ให้ได้ ผมก็เป็นคนหนึ่งที่เคยมีประสบการณ์ได้มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่ แม้เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็มากพอที่จะมีเรื่องราวความทรงจำต่างๆ ให้ระลึกถึงเสมอ เมื่อเอ่ยชื่อ .. “แก่งยาว”  ปีนี้ก็เช่นกัน การเดินทางจาก ตรังมุ่งหน้าสู่ปากช่อง กินเวลาหลายชั่วโมงและยาวไกลนับพันกิโลเมตร ถือเป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางของทริปนี้…“ก็แล้วแต่ … แก่งยาว”

 

 

 

แก่งยาว ในความทรงจำ …. 

_MG_0419ตลอดสี่ปี แก่งยาวนับเป็นทริปเดินป่าประจำเดือนเมษายนไปแล้ว ภาพความประทับใจหลากหลายเรื่องราว พันธุ์ไม้ต่างๆ ที่พบเจอทั้งที่จำได้และจำไม่ได้ ผีเสื้อจำนวนมาก น้ำตกแก่งยาวซึ่งเป็นจุดเด่นที่สุดของทริป แสงไฟ จากกองฟืนยามค่ำ สียงเพลงผสมเสียงผู้หลับยาม เรื่องเล่าต่างๆ ตลอดถึงผู้คน ยังคงวนเวียนอยู่ในความทรงจำที่ไม่ว่าใครก็พรากมันออกไปไม่ได้ ..

nim story -  (2)วันนี้ความหลังครั้งอดีต ถูกย้อนรอยอีกครั้งบนเส้นทางสายเดิม จากจุดเริ่มต้น สมาชิกทั้ง ๑๓ คน อันประกอบด้วย พี่หน่อง , พี่แน็ต , พี่เก่ง , ทิ้ว , ไปป์ , กระแต , นัน , มอร์ , หวาน , ใหม่ , แบซอ ผู้มาไกลกว่าจากยะลาที่ลงทุนเดินทางล่วงหน้ามาก่อนเป็นเดือน , ผู้เขียน และสุดท้ายสมาชิกลึกลับผู้ไม่ประสงค์ออกนาม ซึ่งคุณก็รู้ว่าใคร พร้อมที่จะมุ่งหน้าสู่จุดหมายคือการได้ลงเล่นน้ำ เป็นเป้าหมายหลัก ระหว่างทางที่เดินธรรมชาติรอบข้างยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปเท่าไหร่นัก หญ้าคาและป่าโปร่งๆ ในช่วงแรกมีมนต์เสน่ห์ ทั้งแสบทั้งคันทั้งร้อนเช่นnim story -  (1)เดิม เดินไปพักไป เติมน้ำมันกันตลอดทาง “น้ำซับ”นับว่าเป็นอีกจุดที่เราพักเพื่อบรรจุน้ำให้เต็ม ก่อนที่จะตบตีกับความชันและแรงโน้มถ่วงของโลก ปีนี้”น้ำซับ”ก็ไม่ทำให้ผิดหวังอีกเช่นเคย น้ำที่น้องๆ บรรจงบรรจุลงขวดยังเย็นชื่นใจไม่เคยเปลี่ยน แอบคิดเล่นๆ อยู่เหมือนกันว่าใครกันหนอ เอาตู้เย็นมาวางไว้กลางป่า …..

IMG_7773“มอชุมพล”  ชื่อนี่เป็นอันรู้กันในกลุ่มว่าเป็นจุดพักหลักๆ แต่ไม่แน่ตอนนี้เจ้าหน้าที่อาจจะเรียกตามไปแล้วก็ได้(ซ้ำรอย”น้ำตกกฤษดา”) มาถึงก็ได้เวลาจัดการกับ ข้าวบ่ายพร้อมด้วยกาแฟ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อต้นขาที่ต้องออกแรกเป็นอย่างมากที่จะพาตัวพร้อมสัมภาระให้ขึ้นมาถึงที่นี่ …
_MG_0680เส้นทางเล็กๆ ที่ทอดตัวไปตามแนวสันเขา สภาพป่าสองข้างทางค่อยๆ เปลี่ยนไปจากตอนแรกที่เข้ามาค่อนข้างชัดเจน ไม้ใหญ่จำนวนมากปกคลุมอยู่ทั่วบริเวณ เส้นทางเดินหลายๆ จุดมีไม้ล้มขวาง ไม่นานเราก็มาถึง“คลองมะนาว” ….  คลองมะนาวเป็นธารน้ำเล็กๆ มีน้ำไหลตลอดปีแม้ในยามแล้ง ก็ไม่เคยทำให้คณะผิดหวัง … กวักน้ำล้างหน้าล้างตาให้สดชื่น ไม่นานก็มีเสียงเจ้าถิ่นแสดงตัวให้รับรู้ถึงการมีตัวตนอยู่ไม่ไกลจากตรงนี้มากนัก … จากธารน้ำคลองมะนาว เราเดินข้ามต่อไปเพื่อมุ่งหน้าสู่เป้าหมายหลัก ตอนนี้ก็บ่ายคล้อยแล้ว ความมืดค่อยๆ คืบคลานเข้ามาที่ละนิด ได้แต่เพียงหวังว่า เราคงไปถึงก่อน“ฟ้ามืด”

wan esanim story -  (6)ในเช้าที่อากาศสดใส แดดแรง นับเป็นความโชคดีได้นอนเต็มอิ่มในคืนที่ไม่มีฝนตก หลังมีสมาชิกตื่นขึ้นมาผลัดเปลี่ยนในภาระกิจเฝ้ากองไฟ หลังมื้อสายของวัน “ถ้ำจระเข้” เป็นเส้นทางที่จะเดินไปสำรวจตลอดวันนี้ เพียงข้ามน้ำจากที่พักเดินทวนน้ำขึ้นไปแค่อึดใจเดียว …. ตามเส้นทางพี่หวานและแบซอ ผลัดเปลี่ยนกันให้ความรู้เรื่องสมุนไพรกับน้องๆ ด้วยลีลาท่าทางที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง พี่หวานออกไปทางนุ่มนวลเข้ากันดีจริงๆ กับบุคลิก ด้านแบซอก็ใช่ย่อย มาพร้อมกับลีลาเด็ดๆ พร้อมวลีตบท้าย “มีถั่วไหม” .…  บน  “ถ้ำจระเข้” เป็นลานหินขนาดใหญ่ จากคำบอกเล่าว่า ให้ดูความกว้างของทุ่งเฟิร์น นั่นแหละเป็นความกว้างและลึกของถ้ำจระเข้แห่งนี้ เดินสำรวจขึ้นไปอีกหน่อย ผักหนามเจ้าประจำแทงยอดยั่วน้ำลายนักสำรวจอยู่เป็นจำนวนมาก .. เป็นอันว่า ค่ำนี้เรามี ผักหนามลวกเอาไว้จิ้มน้ำพริกเผาฝีมือพี่แน็ต แก้เผ็ดได้เป็นอย่างดี ก่อนกลับลำพังแค่มาม่ากับกาแฟ คงจืดชีดไป .. ถ้าไม่ได้ผู้หวังดีแต่ไม่ประสงค์ออกนาม เลยขอแปลงร่างเป็นเฮอร์คิวลีส ผู้อาจหาญโหนกิ่งไม้ใหญ่เพื่อเอาไปเป็นฟืนสำหรับคืนนี้ แต่กลับลงไปกลิ้งเสียเอง เป็นที่เฮฮากันทั้งคณะ …

nim story -  (3)อาหารค่ำ  ถูกลำเลียงมาเตรียมพร้อมที่ลานหิน รอคอยสมาชิกทั้งหลายมาลิ้มลองรสชาติ พูดถึงเรื่องอาหารก็มีความหลากหลายกันมากของคณะ บางคนกินเผ็ดไม่เก่งก็ได้แต่กินไปร้องไป บางคนไม่กินเนื้อวัว บางคนไม่กินผัก   แต่ทั้งหลายด้วยสถานการณ์บังคับอาหารกลางป่าย่อมอร่อยได้เสมอ

 

 

“ดูเจ้าทิ้ว ยังไม่อิ่ม เปิดปลากระป๋องเพิ่มแล้ว” พราน(หมด)บุญ เอ่ย

“ปลายิ้มพี่ ไม่ใช่ปลากระป๋อง” น้องทิ้ว สวนขึ้นทันควัน(ฮา)

   จัดการเก็บกวาดล้างจานกันเสร็จเรียบร้อย แสงจากกองไฟประจำแค้มป์ เสียงเพลงขับกล่อมผู้ทำหน้าที่เฝ้ายามก็ยังคงทำงานของมัน ข้าวต้มรอบดึกถูกจัดการลงท้องเป็นอันเรียบร้อย คืนนี้ก็เป็นอัน ราตรีสวัสดิ์

nim story -  (8)

nim story -  (9)เข้าวันที่สามบนแก่งยาว  วันนี้เป้าหมายอยู่ที่การลงไปสำรวจตามธารน้ำไปเรื่อยๆ .. น่าเศร้า หวายแดงที่เคยเห็นเมื่อปีที่แล้วไม่รู้มือมืดคนไหนพรากมันออกไปจากป่า ไม่เหลือเอาไว้ให้เห็นเลย … เดินลัดเลาะไปตามโขดหิน ลุยน้ำบ้าง เดินเลียบน้ำบ้าง ไม่นานก็สุดแก่ง ตรงนี้มีแอ่งน้ำเล็กๆ ลึกพอสมควรให้ได้แช่น้ำเล่นกัน พวกเราปล่อยให้เวลาทำหน้าที่ของมันไปอย่างไม่สนใจ ต่างก็พากันซึมซับกับความรู้สึกที่น้อยคนนักจะได้มาอยู่ ณ สถานที่เช่นนี้ สำหรับผมแล้วภาพการขึ้นแก่งยาวครั้งก่อนๆ ยังคงจดจำได้แม่นยำ

 

nim story -  (10)บ่ายแก่ๆ เราก็เดินย้อนกลับมาที่น้ำตกแก่งยาว เพื่อเล่นน้ำ ถ่ายรูปให้คุ้มค่าที่สุดก่อนที่จะเตรียมข้าวเย็น ก่อนออกจากน้ำตกยังไม่ลืม ซ่อมน้องๆ โดยการให้เก็บสะตอมาเป็นวัตถุดิบอีกด้วย มื้อค่ำสุดท้ายของทริปนี้ เสบียงทั้งหลายถูกนำออกมาทำลายในรูปแบบของกับข้าวซะเกือบหมด มื้อนี้เลยจัดได้ว่าเป็นมื้อที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดของทริปเลยก็ว่าได้ ….  หลังมื้อค่ำ โรงเรียนสอนถ่ายภาพยามค่ำคืน โดย อ.แขก ก็เริ่มเปิดสอน บรรดาน้องๆ ว่าที่นักข่าวอาชญากรรมก็ให้ความสนใจเป็นพิเศษ พร้อมวลีเด็ดๆ อีกแล้ว “อาจารย์ยังไม่ได้สอนเลยพี่” ทำเอา อ.แขก แทบพูดไม่ออก … ว่าแต่ประโยคนี้คุ้นๆ นะ เหมือนเคยได้ยินที่ไหน(ฮา)nim story -  (7)

_MG_0651ท่ามกลางเสียงสายน้ำ อาหารเช้าทยอยลำเลียงลงกระเพาะ เติมพลังงานกันก่อนจะกลับ .. พิธีอำลากองไฟสำหรับนักเดินป่ารุ่นใหม่ ซึ่งงวดนี้ได้ พราน(หมด)บุญ เป็นเจ้าพิธีเอง … เมื่อถึงเวลากลับผมย้อนนึกถึงวันเริ่มต้นเดินทาง “แก่งยาว” ยังคงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง พร้อมให้เราเข้ามาพักผ่อน เรียนรู้ ขึ้นอยู่กับเราว่าจะพร้อมหรือไม่เท่านั้น ซึ่งนี่คือเรื่องราวต่างๆ ที่แสนอบอุ่น ประทับใจ เป็นเสียงเรียกร้องกลับมาอีกให้ได้

ในเวลาเพียงไม่นาน แต่ความรู้สึก มันเพียงพอที่จะเติมเรื่องราวและความทรงจำครั้งใหม่ ..แล้วพบกันอีก
“ก็แล้วแต่ … แก่งยาว”

 

Nimedly
๔ พ.ค. ๕๗

 

 

 

 

ปิดการแสดงความเห็น