นิ่ว เรื่องใหญ่ที่ไตพัง (บันทึกของแผ่นดิน ๑๑)

…นิ่วเกิดจากการสะสมของเกลือแร่จนกลายเป็นผลึกแข็งในทางเดินปัสสาวะ เกิดได้ทั้งในทางเดินปัสสาวะส่วนบนและส่วนล่าง ส่วนบน ได้แก่ ไตและท่อไต นิ่วมีหลายขนาดตั้งแต่เป็นผงละเอียดจนถึงก้อนใหญ่ แล้วไปอุดการไหลของปัสสาวะ ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือ แคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) ส่วนชนิดอื่นๆ ได้แก่ นิ่วที่เกิดจากกรดยูริก ผลึกกรดอะมิโน และสารจำพวกฟอสเฟต หรือนิ่วสตรูไวท์ที่เกิดจากการติดเชื้อ… ..Continue

ดูแลทางเดินปัสสาวะ ลดภาระให้ไต (บันทึกของแผ่นดิน ๑๑)

…..ระบบทางเดินปัสสาวะมีโอกาสจะติดเชื้อได้ง่าย สาเหตุมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ เมื่อคนเราเคลื่อนไหวร่างกายแบคทีเรียบางส่วนที่อยู่รอบๆ ทวารหนักมีโอกาสจะเล็ดลอดเข้าไปที่ท่อปัสสาวะ บางครั้งก็เกิดการเช็ดทำความสะอาดโดยไม่ระมัดระวังโดยเฉพาะในผู้หญิง วิธีที่ถูกต้องคือต้องไม่เช็ดจากทางทวารหนักมาด้านหน้า และการร่วมเพศก็อาจทำให้เชื้อดังกล่าวเข้าไปที่กระเพาะปัสสาวะได้เช่นกัน….. ..Continue

โรคไต ผลพวงของโรคเรื้อรัง (บันทึกของแผ่นดิน ๑๑)

—ในทางการแพทย์แผนไทยอธิบายว่า การเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพเกิดจากความผิดปกติของตรีโทษ ได้แก่ วาตะ ปิตตะ เสมหะ และธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย ซึ่งในระยะแรกอาจจะเกิดจากความพิการหรือการทำงานผิดปกติของธาตุใดธาตุหนึ่งก่อน แต่เมื่อเจ็บป่วยเรื้อรังนานๆ ก็จะส่งผลกระทบถึงกันหมด หากถึงขั้นธาตุดินเสื่อมแล้วก็ยากที่จะแก้ไข เช่น กรณีของผู้ป่วยเบาหวานในระยะท้ายๆ น้ำหนักจะลดลง มีโปรตีนรั่วออกมาในปัสสาวะด้วย— ..Continue

โรคไต ในการแพทย์ ๒ ระบบ (บันทึกของแผ่นดิน ๑๑)

…เมื่อไตถูกทำลาย หรือโรคไตลดการทำงานของไตลง ภาวะดังกล่าวถูกเรียกว่า “การทำงานของไตพร่องลง” โดยไตไม่สามารถกรองและขับของเสียออกจากเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีของเสียและอิเล็กโทรไลต์สะสมคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือดจนกลายเป็นสารพิษ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น เบาหวาน ไทรอยด์ ความดันโลหิตสูง และการเป็นหมัน เนื่องจากมีผลกระทบต่อฮอร์โมนเพศ เช่น โปรเจสเตอโรนในผู้หญิง หรือ เทสโทสเตอโรนในผู้ชาย… ..Continue

ไต เรื่องใหญ่ ต่อสุขภาพ(บันทึกของแผ่นดิน ๑๑)

ไต เรื่องใหญ่ ต่อสุขภาพ (บันทึกของแผ่นดิน ๑๑) …..โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ในแง่จำนวนผู้ป่วย และภาระทางเศรษฐกิจและสังคมที่ประเทศต้องแบกรับทั้งในส่วนของรัฐ ผู้ป่วย ญาติ และบุคลากรที่ดูแล ปัจจุบันคนไทยป่วยด้วยโรคไตเรื้อรังประมาณ ๘ ล้านคน และเพิ่มสูงขึ้นทุกปี หนึ่งในสาม มีอายุน้อยกว่า ๖๐ ปี เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย ๒๐๐,๐๐๐ คน ซึ่งต้องได้รับการฟอกเลือดหรือล้างไต และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ ๑๕-๒๐ ต่อปี ซึ่งรัฐบาลต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาปีละ ๒๐,๐๐๐ ล้านบาท ส่วนผู้ป่วยที่ล้างไตมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนละ ๓๐,๐๐๐ บาท …..จึงไม่น่าแปลกใจว่า โรคไตกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่คนกลัวหนักกลัวหนา โดยเฉพาะโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายหรือไตวาย จนกล่าวกันว่าเป็น “มหันตภัยเงียบ” หรือ “โรคตายไว” เพราะกว่าจะรู้ตัวหรือได้รับการวินิจฉัย ก็มักพบว่าไตฝ่อเกือบหมดแล้ว … ..Continue